23934 จำนวนผู้เข้าชม |
ระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมนั้น มี 2 แบบ
1.แบบ KU - Band จะส่งคลื่นความถี่ 10 - 12 GHz สูงกว่าความถี่ C-Band สัญญาณที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ
ข้อดี : ความเข้มของสัญญาณสูงมาก ใช้จานขนาเล็กๆ 60 - 120 เซนติเมตร ก็สามารถรับสัญยาณได้แล้ว เหมาะสำหรับส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เช่น สัญญาณ CABLE TV (UBC)
ข้อเสีย : ฟุตปริ้นท์ระบบ KU-Band จะแคบ ส่งเฉพาะจุดที่ต้องการ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาในการรับสัญญาณภาพ เวลาเกิดฝนตกภาพจะไม่มี สาเหตุเนื่องมาจากความถี่ของ KU-Band จะสูงมากเมื่อผ่านเมฆฝน
ข้อเสีย : ฟุตปริ้นท์ระบบ KU-Band จะแคบ ส่งเฉพาะจุดที่ต้องการ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาในการรับสัญญาณภาพ เวลาเกิดฝนตกภาพจะไม่มี สาเหตุเนื่องมาจากความถี่ของ KU-Band จะสูงมากเมื่อผ่านเมฆฝน
ฟุตปริ้นท์ (FOOTPRINT)
ส่วนที่เป็นสายอากาศของดาวเทียม จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรทัศน์ลงมายังพื้นโลกให้มีรูปร่างเฉพาะตัวได้ เช่นหากต้องการส่งสัญญาณโทรทัศน์มายังประเทศไทยโดยเฉพาะ ก็ออกแบบสายอากาศของดาวเทียมให้มีลำคลื่น (Beam) ครอบคลุมเฉพาะประเทศไทย ซึ่งลักษณะของลำคลื่นที่ออกแบบไว้ให้ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการนี้ เราเรียกว่า ฟุตปริ้นท์ (Footprint)โดยดาวเทียมแต่ละดวงจะมีฟุตปริ้นท์เป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง ซึ่งพื้นที่ที่จได้รับสัญญาณจากดาวเทียมได้ดี หรือแรงที่สุดจะอยู่ในส่วนที่เรียกว่า ศูนย์กลาง (Center) ของฟุตปริ้นท์ หากหลุดออกไปจากศูนย์กลางนี้ ความแรงของสัญญาณก็จะลดลง
ฟุตปริ้นท์ จะมีเส้นเป็นวงชั้นจากเล็กไปใหญ่ วงในสุดจะมีความเข้มของสัญญาณ (Effective Isotropic Radiated Power หรือเรียกว่า ค่า EIRP ) สูงที่สุด หมายความว่าถ้าใช้จานรับสัญญาณดาวเทียม จานที่ใช้ก็มีขนาดเล็ก สัญญาณจะอ่อนลงตามลำดับในชั้นที่ 2 - 3 และ4 ซึ่งขนาดของจานรับสัญญาณ ก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น ตามไปด้วย
2 ระบบ C-Band ค่าความแรงสูงสุดจากวงในจะอยู่ที่ 39 dBW และอ่อนสุดที่ 32 dBW ส่วนระบบ KU-Band จะมีความเข็มของสัญญาณมากกว่า ซึ่งวงในสุดจะมีค่า 52 dBW และวงนอกต่ำสุด 47 dBW ซึ่งค่าความแรงของสัญญาณดาวเทียมในแต่ละพื้นที่ จะเป็นตัวกำหนดความก้วางของหน้าจาน ที่จะมาใช้รับสัญญาณของดาวเทียมดวงนั้นๆ
สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันขนาดหน้าจานที่ใช้รับกันอยู่มีหลายขนาด
ระบบ C-Band ใช้หน้าจานขนาดตั้งแต่ 165 ซ.ม ขึ้นไป
ระบบ KU-Band ใช้หน้าจานขนาด ตั้งแต่ 60 ซ.ม.ขึ้นไป
ในการใช้งานจริง จะมีการเผื่อขนาดหน้าจานเพื่อในบางครั้งสัญญาณอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่น Beam ของสัญญาณเคลื่อน อากาศชื้น ฝนตกสัญญาณที่ส่งลงมาเกิดการสูญเสีย Loss ไปหากเราใช้จานขนาดที่ใหญ่ การรับภาพก็เป็นปกติ
การที่เราจะติดตั้งจานดาวเทียมได้ จะต้องรู้ก่อนว่าตำแหน่งของดาวเทียม ดวงที่เราจะรับนั้น ว่าอยู่ตำแหน่งไหน ดาวเทียมทุกดวงจะแขวนอยู่ที่เส้นศูนย์สูตร (เส้นแบ่งระหว่างซีกโลกเหนือ และใต้) ซึ่งตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวงนั้น ต้องได้รับอนุญาติจากองค์การดาวเทียมระหว่างประเทศ หรือเรียกย่อว่า ITU ( Internation Telecommunication Union ) และดาวเทียมแต่ละดวงจะมีตำแหน่งเป็นของตนเองโดยใช้เส้นแวง (LONGTITUDE) เป็นตัวกำหนดตำแหน่ง ดังนั้นชื่อของดาวเทียมจะมีตัวเลขต่อท้ายเสมอ
การกำหนดพื้นที่ในการติดตั้งจานดาวเทียม
เมื่อเรารู้ว่าดาวเทียมทุกดวงอยู่ที่ เส้นศูนย์สูตร และประเทศไทยอยู่ซีกโลกทางด้านเหนือ การติดตั้งจานดาวเทียมจะต้องหันหน้าจานไปทางทิศใต้ ส่วนจะหันหน้าจานไปทางทิศตะวันออก หรือตะวันตกนั้น ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดตั้ง กับตำแหน่งของดาวเทียม
สมมุติว่าเราต้องการติดตั้งจานดาวเทียม ที่กรุงเทพฯ ตำแหน่งที่กรุงเทพฯ อยู่เส้นรุ้งที่ 13.5 ส่วนเส้นแวงอยู่ที่ 100 ถ้าเราต้องการรับดาวเทียม Thaicom 2/5 จะต้องหันหน้าจานไปทางขวา (ถ้าเราหันหน้าไปทางทิศใต้) เพราะดาวเทียมไทยคม อยู่ที่เส้นแวง 78.5 E หรือในขณะเดียวกัน ถ้าเราต้องการรับสัญญาณจากดาวเทียม APSTAR 134 E เราจะต้องหันหน้าจานไปทางซ้าย แต่ถ้าเราต้องการรับ ดาวเทียม ASIASAT 1 100.5 E ซึ่งตรงพอดี
การติดตั้งจานดาวเทียมที่จังหวัด นราธิวาส กับการติดตั้งจานดาวเทียมที่จังหวัดเชียงราย ย่อมที่จะมีมุมก้มเงยที่แตกต่างกัน เพราะว่าที่จังหวัดนราธิวาสอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จานจะเงยมากกว่า ส่วนที่จังหวัดเชียงรายอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร จานก็จะก้มมากกว่า มุมก้มเงย หรือมุมซ้ายขวา ในแต่ละตำแหน่ง หรือพื้นที่ก็ยังไม่เท่ากัน
ดังนั้นในการติดตั้งจานดาวเทียม เราจะต้องทราบค่ามุมก้มเงย และมุมส่ายหน้าจาน สำหรับแต่ละพื้นที่ เพื่อจะรับดาวเทียม ที่ต้องการ
ในการติดตั้งจานรับดาวเทียม แบบ Fix เราจะรู้ก่อนว่า ?
***ต้องการรับดาวเทียมอะไร
ใช้จานดาวเทียม อะไรรับ C-Band หรือ KU-Band
จะรับที่พื้นที่ไหน จังหวัดอะไร
ค่ามุมก้มเงย และมุมกวาด ของดาวเทียมที่ต้องการรับ พื้นที่นั้นมีค่าไหร่
ตารางมุมก้มเงย - มุมกวาด จานดาวเทียม
เช่น Thaicom 78.5 E หมายถึง เส้นแวงที่ 78.5 , E หมายถึง ซีกโลกด้านตะวันออก
การกำหนดพื้นที่ในการติดตั้งจานดาวเทียม
เมื่อเรารู้ว่าดาวเทียมทุกดวงอยู่ที่ เส้นศูนย์สูตร และประเทศไทยอยู่ซีกโลกทางด้านเหนือ การติดตั้งจานดาวเทียมจะต้องหันหน้าจานไปทางทิศใต้ ส่วนจะหันหน้าจานไปทางทิศตะวันออก หรือตะวันตกนั้น ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดตั้ง กับตำแหน่งของดาวเทียม
สมมุติว่าเราต้องการติดตั้งจานดาวเทียม ที่กรุงเทพฯ ตำแหน่งที่กรุงเทพฯ อยู่เส้นรุ้งที่ 13.5 ส่วนเส้นแวงอยู่ที่ 100 ถ้าเราต้องการรับดาวเทียม Thaicom 2/5 จะต้องหันหน้าจานไปทางขวา (ถ้าเราหันหน้าไปทางทิศใต้) เพราะดาวเทียมไทยคม อยู่ที่เส้นแวง 78.5 E หรือในขณะเดียวกัน ถ้าเราต้องการรับสัญญาณจากดาวเทียม APSTAR 134 E เราจะต้องหันหน้าจานไปทางซ้าย แต่ถ้าเราต้องการรับ ดาวเทียม ASIASAT 1 100.5 E ซึ่งตรงพอดี
การติดตั้งจานดาวเทียมที่จังหวัด นราธิวาส กับการติดตั้งจานดาวเทียมที่จังหวัดเชียงราย ย่อมที่จะมีมุมก้มเงยที่แตกต่างกัน เพราะว่าที่จังหวัดนราธิวาสอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จานจะเงยมากกว่า ส่วนที่จังหวัดเชียงรายอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร จานก็จะก้มมากกว่า มุมก้มเงย หรือมุมซ้ายขวา ในแต่ละตำแหน่ง หรือพื้นที่ก็ยังไม่เท่ากัน
ดังนั้นในการติดตั้งจานดาวเทียม เราจะต้องทราบค่ามุมก้มเงย และมุมส่ายหน้าจาน สำหรับแต่ละพื้นที่ เพื่อจะรับดาวเทียม ที่ต้องการ
ในการติดตั้งจานรับดาวเทียม แบบ Fix เราจะรู้ก่อนว่า ?
1.ต้องการรับดาวเทียมอะไร
2.ใช้จานดาวเทียม อะไรรับ C-Band หรือ KU-Band
3.จะรับที่พื้นที่ไหน จังหวัดอะไร
4.ค่ามุมก้มเงย และมุมกวาด ของดาวเทียมที่ต้องการรับ พื้นที่นั้นมีค่าไหร่
5.ตารางมุมก้มเงย - มุมกวาด จานดาวเทียม เป็นต้น